วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Google Scholar คืออะไร ?

Google Scholar คืออะไร ?

สำหรับ Google Scholar เป็นบริการที่มีมานานแล้ว ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2547 โดยออกเป็น beta version และทุกวันนี้ก็ยังคงเป็น beta อยู่ และอาจเพราะเป็นบริการที่ออกมานานแล้วเลยทำให้เป็นบริการที่ไม่เป็นที่รู้จักของหลายๆ  คน
Google Scholar เป็นวิธีการค้นหาที่ง่าย ๆ ในการค้นหางานเขียนทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง คุณสามารถค้นหาในสาขาวิชาและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้มากมายได้จากจุดเดียว : ไม่ว่าจะเป็นบทความ peer-reviewed วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทคัดย่อ และบทความจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการ แวดวงวิชาชีพ ที่เก็บร่างบทความ มหาวิทยาลัย และองค์กรด้านการศึกษาอื่น ๆ
Google Scholar ช่วยให้คุณสามารถระบุการค้นคว้าที่เกี่ยวข้องมากที่สุดในโลกแห่งการค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ

คุณลักษณะของ 

ค้นหา แหล่งข้อมูลที่หลากหลายจากจุดที่สะดวกจุดเดียวค้นหา บทความ บทคัดย่อ และการอ้างอิงค้นหาตำแหน่ง ของบทความฉบับสมบูรณ์จากทั่วทั้งห้องสมุดของคุณหรือบนเว็บเรียนรู้ เกี่ยวกับบทความสำคัญในการค้นคว้าวิจัยสาขาใดๆ
Google Scholar มุ่งมั่นที่จะจำแนกบทความแบบนักวิจัย โดยวัดน้ำหนักจากข้อความทั้งหมดของแต่ละบทความ ผู้เขียน สิ่งตีพิมพ์ที่บทความนั้นปรากฏ และความถี่ที่มีการอ้างอิงบทความนั้นในงานเขียนทางวิชาการอื่น ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องมากที่สุดจะปรากฏบนหน้าแรกเสมอ

Cr.http://libkm.kku.ac.th/kmlib/?p=1173

Google Site คืออะไร ?

Google Site คืออะไร?

google site คือเครื่องมือๆ หนึ่ง ของ google แต่ที่เรานิยมใช้กัน มักจะมีเพียงแค่ 2 ตัวเท่านั้น คือ เว็บสำหรับสืบค้นข้อมูล และ gmail แต่ถ้าหากเราเสียเวลาเหลือบมองไปด้านบนสักนิด(หากท่านเข้าเว็บ google ที่ใช้สำหรับสืบค้นข้อมูล ท่านจะเห็นอะไรมากมายที่ท่านไม่เคยแตะมันเลย ที่ผมแนะนำให้ท่านลองไปศึกษาและใช้เอง คือ เอกสาร ครับ ลองคลิ๊กเข้าไปดู ท่านชอบแน่นอน(สำหรับผู้ที่มีความเร็วของอินเตอร์เนตพอใช้ได้) แต่ google site อยู่ตรงไหนล่ะครับ ที่เพิ่มเติมไงครับ โดยเลือกที่ ไซต์ (site) แล้วระบบจะนำท่านไปสู่ความสนุกและประโยชน์มหาศาลครับ

          google site คือเว็บบล็อกฟรี ของgoogle นั่นเองมีความสามารถหลากหลาย ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งได้ตามใจชอบ และวัตถุประสงค์ของการทำเว็บ ของแต่ละคน หากเข้าใจมันแล้ว ท่านจะชอบมัน และก็ไม่ยากที่ท่านจะเข้าใจมัน ขอเพียงแต่ท่าน คีย์ข้อมูลเป็น และสนใจ เท่านี้ท่านก็สามารถมีเว็บบล็อกดีๆตัวหนึ่งได้อย่างฟรี และที่สำคัญ ท่านสามารถเชิญชวนเพื่อนของท่านให้มาช่วยกันสร้างเว็บบล็อกตัวนี้ร่วมกัน 



Cr.https://sites.google.com/site/phxthaennng/khumux-kar-chi-ngan/googlesitekhuxxari

Google AdSense คืออะไร ?

Google Adsense คืออะไร

. . . Google Adsense คือ บริการหนึ่ง จาก Google.com ที่เปิดโอกาสให้กับผู้ที่มีเว็บไซต์ สามารถสร้างรายได้โดยการนำโฆษณาของ Google มาใส่ไว้ที่เว็บไซต์ของเรา ซึ่งโฆษณาต่างๆ ของ Google จะเป็นโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ ตัวอย่าง เช่น ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับเกมส์ โฆษณาที่ทาง Google จะส่งมาก็จะเป็นเกี่ยวกับเกมส์ เช่นกัน

. . . โฆษณาของ Google Adsense มีหลายรูปแบบ อาทิ เช่น แบบ Text(ตัวอักษร), แบบรูปภาพ และ รูปแบบตัวอักษรสลับกับรูปภาพ และยังมีสามารถเลือกขนาดของโฆษณาได้ตามต้องการ รวมถึงสีสันของโฆษณาได้ตามต้องการ เพื่อความสวยงาม และลงตัว เหมาะสมกับเว็บไซต์ของคุณได้อีกด้วย

. . . โฆษณาของ Google AdSense ก็มาจากอีกบริการหนึ่ง ก็คือ Google Adwords เป็นบริการของ Google.com ที่ให้เว็บไซต์ต่างๆ หรือ ผู้ที่ต้องการขายสินค้าและบริการบริการต่าง ๆ มาลงโฆษณา โดยโฆษณาเหล่านี้ ก็จะปรากฎ ในเว็บ Google.com เอง และ รวมถึงเว็บไซต์พันธมิตร นั่นก็คือ เว็บไซต์ที่สมัคร Google AdSense นั่นเอง ก็คือ กลุ่มพวกเราที่กำลังทำกันอยู่ เพื่อให้โฆษณาของ Google Adwords เหล่านี้ กระจายออกไปสู่เว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก เป็นการโฆษณาที่ได้


Cr. http://www.thaiadsense.info/adsense_01.htm

Google Contacts คืออะไร ?

                       Google Contacts คืออะไร

Google Contacts เป็นวิธีเก็บและจัดระเบียบข้อมูลที่อยู่ติดต่อของบุคคลที่คุณสื่อสารด้วย ที่อยู่ติดต่อแต่ละรายสามารถประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชื่อ ที่อยู่อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ และยังสามารถรวมข้อมูลเสริมเช่น ที่อยู่ทางไปรษณีย์ นายจ้าง แผนก หรือตำแหน่งงาน

Google Contacts จะทำงานร่วมกับ Google Apps ทั้งหมด เช่น Gmail, ไดรฟ์ และปฏิทิน ผ่าน ฟังก์ชันเติมข้อความอัตโนมัติ คุณลักษณะนี้ช่วยให้ผู้ใช้ส่งอีเมล แบ่งปันเอกสาร และกำหนดนัดหมายโดยไม่จำเป็นต้องค้นหาข้อมูลที่อยู่ติดต่อในแท็บหรือหน้าต่างอื่น และผู้ใช้ยังสามารถ ซิงค์ที่อยู่ติดต่อระหว่าง Google Apps กับโทรศัพท์มือถือ เพื่อดูที่อยู่ติดต่อนอกเบราว์เซอร์ได้อีกด้วย

ที่อยู่ติดต่อประเภทต่างๆ

Google Contacts ประกอบด้วยที่อยู่ติดต่อสองประเภท แต่ละประเภทมีการจัดการแยกจากกัน และประกอบด้วยข้อมูลที่คล้ายกันแต่ไม่ตรงกันทั้งหมด

Cr. https://support.google.com/a/answer/1628008?hl=th

การใช้ประโยชน์จาก Google Maps

                 การใช้ประโยชน์จาก Google Maps

ในปัจจุบัน เราใช้ประโยชน์จากแผนที่ Google Map ได้มากมาย เช่น การค้นหาสถานที่ต่างๆ และเส้นทางที่จะใช้ในการเดินทาง ค้นหาสถานที่ใกล้เคียง ฯลฯ 

ในการใช้แผนที่ Google Map เราเลือกดูแผนที่ได้ 4 แบบ คือ แผนที่ (Map)  แผนที่จากภาพถ่ายดาวเทียม (Sat) แผนที่แสดง Terrain (Ter) และแผนที่ Google Earth (Earth)

ในการค้นหาสถานที่นั้น บางครั้ง ถ้าใช้แบบ Map แล้วพบว่า ถนน ไม่ชัดเจนเพียงพอ ก็ควรใช้แผนที่แบบ Sat แทนเป็นการหาตำแหน่งของตลาดน้ำดำเนินสะดวก ซึ่งเมื่อคลิกที่รูปบ้าน ข้อมูลจะปรากฏขึ้น

จากนั้นคำบรรยายสั้นๆ แสดงไว้ที่ A) และสามารถทำLink ไปยังเว็บไซต์ หรือเว็บเพจได้ เช่น คลิกดู VDO หรือที่ (B) ซึ่งเมื่อคลิกเข้าไปก็จะเห็นหน้าเว็บเพจที่มีวิดีโอ 

ถ้าเรามีเครื่องนำทาง GPS ก็หาจุด Coordinates ของตลาดน้ำดำเนินสะดวกได้ (ถ้ามีคนทำ Placemark เอาไว้ให้แล้ว)โดยคลิกที่ Directions (C)  ก็จะปรากฎช่องที่แสดงจุดCoordinates (E)  ซึ่งสามารถนำไป Key เข้าเครื่องนำทาง GPS และใช้ในการเดินทางไปตลาดน้ำดำเนินสะดวกได้อย่างแม่นยำ

นอกจากนั้นเรายังสามารถค้นหาสถานที่ใกล้เคียงได้ เช่น คลิกที่ Search neraby (D) ถ้าพิมพ์คำว่าRestaurantลงในช่อง (F) แล้วกด Search ก็จะได้ตำแหน่งของร้านอาหารที่อยู่ใกล้ๆกับตำแหน่งของเรา คือตลาดน้ำดำเนินสะดวกและมีสรุปข้อมูล

คลิกที่นี่ เพื่อเข้าไปทดลองใช้แผนที่ Google Map ตามตัวอย่างที่กล่าวข้างต้น  หรือ คลิกที่รูปบ้าน ก็ได้เช่นกัน

การหาพิกัด GPS (Latitude, Longitude) ของสถานที่ 
เปิด Google Map แล้วเลือกสถานที่ ที่ต้องการ เช่น วัดพระศรีสรรเพชร อยุธยา (1)ใช้ Mouse ทาบไปที่ระบุว่าคือวัดพระศรีสรรเพชร คลิกที่ปุ่มขวา จะปรากฎหน้าต่างเล็กๆขึ้นมา ตามรูปที่ 8 คลิกที่ What's here? (2) จะได้พิกัด GPS ขึ้นมาคือ14.355784, 100.558548 (3) 

Cr. http://www.somkiet.com/ComTech/GMap1.htm

10 เคล็กลับการใช้ Google Calender

เคล็ดลับ 10 tips การใช้ Google Calendar แบบเทพ ๆ

1. คีย์ลัด

การใช้คีย์ลัดช่วยให้เข้าถึงฟังก์ชันต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น ตัวอย่าง คีย์ลัดที่ผู้เขียนใช้บ่อย เช่น

“S” เข้าไปที่หน้า Calendar Setting

“D“,”W“, “M” แสดงหน้าปฏิทินแบบ วัน, สัปดาห์, เดือน

“/” วางตำแหน่งเคอร์เซอร์ไปที่ กล่องค้นหา

“Q” แสดงกล่อง Quick Add

โดยผู้ใช้ต้องเข้าไปกำหนดค่าที่ Calendar settings -> General -> Enable keyboard shortcuts เลือกค่า Yes

 ถ้าต้องการดูรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับคีย์ลัดคลิกที่ Learn more

2. เพิ่ม Time Zone

หน้าปฏิทินสามารถเลือกแสดงได้หลาย Time Zone โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปเพิ่ม Time Zone ได้ที่ Calendar settings -> General ->Your current time zone คลิกที่ ”Show an additional time zone” แล้วไป Check Box ที่ ”Display all time zones”

3. แสดงปฏิทิน Thai Holidays

Google Calendar มีปฏิทินวันหยุดสำหรับนานาชาติให้เลือกใช้ ของประเทศไทยก็มีครับ ถ้าสนใจจะแสดงปฏิทินวันหยุด เข้าไปที่ Calendar settings -> Calendars -> Browse interesting calendars -> Holidays -> Thai Holidays คลิกที่ Subscribe

4. ปรับการแสดงจำนวนวันหน้าปฏิทิน

หน้าปฏิทินไม่จำเป็นต้องแสดงเป็น สัปดาห์ เดือน ปี ก็ได้ คุณสามารถกำหนดให้แสดงเป็นจำนวนวัน (2-7 days) หรือจำนวนสัปดาห์ (2-4 weeks) ได้ตามต้องการ โดยเข้าไปกำหนดค่าที่

Calendar settings -> General -> Default view และ Custom view

5. แสดง Tasks บนปฏิทิน

โดยค่า Default ปฏิทินจะไม่แสดง Tasks แต่ถ้าคุณมีความต้องการที่จะแสดง Tasks บนหน้าปฏิทินด้วย สามารถทำได้โดยการคลิกที่ My Calendar ทางด้านซ้ายของหน้า Calendar แล้วเลือก Tasks … รายการ Tasks ก็จะไปปรากฏในหน้าปฏิทิน

6. แบ่งปันปฏิทิน

คุณสามารถแบ่งปันปฏิทินของคุณไปยังบุคคลอื่นได้ตามต้องการ โดยการป้อนอีเมลล์ และสามารถกำหนดสิทธิให้กับผู้ที่ได้รับการแบ่งปันปฏิทินที่เห็นว่าเหมาะสมได้ด้วย

การกำหนดสิทธิมีให้เลือกดังนี้ “Make changes AND manage sharing” , “Make changes to events” , “See all event details” และ “See only free/busy (hide details)”

7. รับแจ้งกำหนดการทาง Email

ต้องการให้ Google Calendar ส่งอีเมลล์มาเตือนกำหนดการประจำวันทุกเช้า จะได้ไม่หลงลืมนัดสำคัญประจำวัน ทำได้โดยเข้าไปที่ Calendar settings -> Calendars คลิกที่ Notification หลังรายการปฏิทินที่สนใจจะให้เตือน (อยู่ประมาณกลาง ๆ หน้า) คลิกที่กล่อง Email หลัง Daily Agenda

8. สร้างกำหนดการผ่าน Quick Add

การสร้างกำหนดการด้วย Quick Add ช่วยให้การสร้างกำหนดสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามจะให้กำหนดการที่ไปปรากฏบนปฏิทินมีความถูกต้องชัดเจน คุณควรยึดหลักลำดับความ ดังนี้  “what, with who, where และ when”  เช่น Seminar with K.POP at Satorn Road on March 6, 2012 8:30 a.m. – 12:30 p.m. เป็นต้น ในกรณีเป็นกำหนดการแบบทั้งวันก็ไม่ต้องกำหนดเวลา

9. ค้นหาด้วย Calendar Search

Google Calendar เตรียมเครื่องมือการค้นหาที่มีประสิทธิภาพไว้ให้ โดยเตรียมคำกรองที่ช่วยให้การค้นหาใช้คำที่เฉพาะเจาะจง มีโอกาสเจอกำหนดการในปฏิทินได้มากขึ้น ได้แก่ What , Who , Where , Doesn’t Have , Search (which calendar) และ Date from – to -

คุณสามารถใช้งานฟังก์ชันนี้ได้โดยการคลิก show search options อยู่หลังกล่องค้นหาด้านบนของปฏิทิน

10. ดูปฏิทินแบบ Offline

ไม่ได้ต่ออินเทอร์เนต ก็สามารถดูปฏิทินได้ครับ โดยการติดตั้งChrome App ที่ชื่อว่า Google Calendar จาก Chrome Web Store เป็นแอพที่พัฒนาโดย Google เองเลยครับ

เมื่อเปิดแอพขึ้นมาหน้าตาไม่แตกต่างจาก Google Calendar เวอร์ชั่นเดสก์ทอปที่คุ้นเคย ใช้งานง่ายเหมือนกัน เพียงแต่มีคุณสมบัติที่ยอมให้คุณดูปฏิทิน แม้ในขณะที่ไม่ได้ต่ออินเทอร์เนต

Cr. http://arthitonline.me/2012/02/22/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A-tips-google-calendar/

ข้อเสียของ Google Chrome

                       ข้อเสียของ Google Chrome

1.ภาษาไทยยังไม่สมบูรณ์เช่น เวลาพิมพ์คำที่มีสระบน สระหน้า แล้วลบ เช่น กำลัง, ไป, ขึ้นรถ เป็นต้น เวลาลบจะหายไปทั้งหมด

2. ยังไม่มีตัวอ่าน Feed ในตัว เวลาคลิกไป Atom หรือ Feed จะเกิดโค้ดอันเลวร้ายออกมา

3. ไม่สามารถคลิกขวา Refresh ได้ ประหลาดมาก ต้องไปกดปุ่ม Refresh ข้างบน หรือไม่ก็ F5

4. ซูมทั้งหน้าไม่ได้ ได้แต่ Text

5. ยังไม่มี Plugin หรือ Theme ให้โหลด

6. ไม่ Support 100% กับ Wysiwyg Editor ในท้องตลาดบางตัว

7. สังเกตว่า หาก Tab ไหนทำ Flash ค้าง แล้วจะทำให้ Flash ในทุก Tab ค้างไปด้วย

8. เปิดใช้ java applet ไม่ได้ดีเท่าที่ควร

9. มีปัญหาเรื่อง sign in เข้าเว็บแล้วไม่ค่อยผ่านได้ดีเท่าที่ควร

10. จุดที่ Webkit ยังแพ้ Firefox 3 อย่างเห็นได้ชัดคงเป็นเรื่องการขยายเว็บที่ขยายแต่ตัวอักษร

 Cr. http://www.dek-d.com/lifestyle/10591/

ข้อดีของ Google Chome

                               ข้อดีของ Chrome

1. Render ได้ถูกต้อง (เพราะใช้ Webkit engine ตัวเดียวกับ Safari )

2. ความเร็วสูงมาก เพราะใช้ Javascript engine ตัวใหม่

3. หน้าตาดูดีสวยงามมาก Usability โดยรวมใช้ได้

4. มีตัว Inspect Element (คล้าย Firebug) มาในตัว ทำให้ทำเว็บง่ายขึ้น

5. มี Interface ภาษาไทยด้วย ทำให้ใช้งานง่ายเหมาะกับคนไม่เก่งภาษาอังกฤษ

6. หน้า History ดูสวยงามดี

7. หน้า Home มีการสรุปเว็บที่เข้ามากที่สุด 9 อันดับ ทำให้สามารถเข้าเว็บเหล่านั้นได้อย่างง่ายดาย

8. มี URL Bar อันเดียว ใช้ทั้ง search และ browse

9. มี Stealth Mode (Incognito) เพื่อการ browse เว็บอย่างเป็นส่วนตัว

10. Animation ของ Browser เวลาเปลี่ยน Tab ลากไปมา ลื่นดี

Cr. http://www.dek-d.com/lifestyle/10591/

Google Translate ทำงานอย่างไร ?

Google Translate ทำงานอย่างไร?

   Google Translate เครื่องมือแปลภาษาที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยสามารถแปลได้ตั้งแต่ข้อความที่เป็นประโยคไปจนถึงเอกสารทั้งหน้า หรือแม้แต่ทั้งเว็บไซต์ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า คุณผู้อ่านของ arip หลายคนคงอยากทราบว่า Google Translate มีการทำงานอย่างไร? ทำไมมันถึงได้เข้าใจภาษาต่างๆ และสามารถแปลออกมาได้ค่อนข้างถูกต้องในบางภาษา?
    สำหรับการแปลภาษาของ Google Translate จะมาจากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์หลายเครื่องด้วยกัน โดยคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะใช้กระบวนการแปลที่เรียกว่า "statistical machine translation" หรือ "ระบบการแปลภาษาเชิงสถิติ" ซึ่งเป็นวิธีที่คอมพิวเตอร์ใช้แปลความหมายของประโยค โดยอ้างอิงจากรูปแบบของข้อความจำนวนมาก เพื่อให้ข้อความที่แปลมีความใกล้เคียงกับภาษามนุษย์
     ลองนึกย้อนไปในสมัยเรียนภาษาอื่นๆ หากคุณต้องการสอนใครสักคนให้สามารถพูดภาษาใหม่ได้ คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยการสอนคำศัพท์ และกฎไวยกรณ์ที่จะบอกว่า โครงสร้างประโยคของภาษาเป็นอย่างไร? คอมพิวเตอร์สามาถเรียนรู้ภาษาต่างๆ ของมนุษย์ได้ด้วยวิธีเดียวกัน นั่นก็คือ การอ้างอิงจากความหมายของคำศัพท์ และกฎไวยกรณ์ แต่ในความเป็นจริง ภาษาต่างๆ จะมีความซับซ้อน ซึ่งครูสอนภาษาหลายคนก็มักจะบอกตรงกันว่า มันมีข้อยกเว้นสำหรับการใช้กฎต่างๆ ด้วย เมื่อคุณพยายามใช้ข้อยกเว้นเหล่านั้นทั้งหมด ก็จะพบว่า มันมีข้อยกเว้นของข้อยกเว้นขึ้นมาอีก จึงไม่น่าแปลกใจว่า คุณภาพของโปรแกรมแปลภาษาด้วยคอมพิวเตอร์จึงไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าที่ควร แต่สำหรับ Google Translate จะใช้วิธีแปลที่แตกต่างจากโปรแกรมทั่วไป

     แทนที่ Google Translate จะใช้วิธีสอนให้คอมพิวเตอร์รู้จักกฎไวยกรณ์ของภาษา ทีมพัฒนาใช้วิธีทำให้คอมพิวเตอร์สามารถค้นพบรูปแบบ หรือกฎการแปลภาษาด้วยตัวมันเอง ซึ่งคอมพิวเตอร์ทั้งระบบสามารถทำสิ่งนี้ได้โดยวิเคราะห์จากเอกสารหลายล้านชุดที่มีการแปลออกมาแล้วโดยมนุษย์ ซึ่งข้อความที่แปลแล้วมาจากหนังสือต่างๆ จากองค์กรอย่าง UN และเว็บไซต์จากทั่วโลก โดยคอมพิวเตอร์สามารถสแกนข้อความต่างๆ เพื่อค้นหาสถิติที่สามารถให้ข้อสรุปที่ชัดเจนของรูปแบบการแปลเทียบกับการแปลคำต่อคำจนสามารถตัดสินใจได้ว่า ประโยคนั้นๆ ควรจะแปลว่าอย่างไรกันแน่ เมื่อคอมพิวเตอร์พบรูปแบบของการแปลทีชัดเจน (สถิติการแปลยืนยันว่า ส่วนใหญ่ต้องแปลแบบนี้) ระบบก็จะใช้รูปแบบนั้นแปลข้อความที่คล้่ายกันออกมาได้ เมื่อคอมพิวเตอร์ผ่านกระบวนการแปลซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ ด้วยรูปแบบต่างๆ โปรแกรมก็จะมีความฉลาดในการแปลเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

     อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบางภาษามีเอกสารให้โปรแกรมได้เรียนรู้ค่อนข้างน้อย นั่นเป็นสาเหตุให้คุณภาพการแปลภาษาของ Google Translate มีความแตกต่างกันไป ซึ่ง Google ยอมรับว่า ระบบการแปลยังไม่สมบูรณ์ แต่ด้วยการที่ระบบได้รับข้อความแปลใหม่ๆ ตลดเวลา มันจะทำให้คอมพิวเตอร์ฉลาดขึ้น และการแปลก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ ตามไปด้วย ดังนั้นทุกครั้งที่คุณแปลประโยค หรือเว็บเพจด้วย Google Translate พึงระลึกว่า การแปลที่เห็นนั้นเกิดจากการประมวลผลเอกสารการแปลหลายล้านชุด และหลายพันล้านรูปแบบการแปล ซึ่งหลายต่อหลายครั้งผู้ใช้จะทึ่งกับผลลัพธ์การแปลที่ได้

Cr. http://www.thesystem.co.th/thesystem/news/show_.php?id=MTAwMDAwODA=

บทบาทของ Google talk

    บทบาทของ Google talk

    บทบาทต่อสังคม

    การค้นหาทางสังคมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์การค้นหาส่วนตัวของคุณ จะช่วยให้คุณสามารถค้นหาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องจากบุคคลในสังคมออนไลน์ของคุณ ทั้งนี้ สังคมออนไลน์ของคุณประกอบด้วยผู้ติดต่อดังต่อไปนี้:
    • บุคคลในรายการแชทของ Gmail (หรือ Google Talk) ของคุณ
    • บุคคลในกลุ่มที่อยู่ติดต่อของฉันในGoogle Contacts ของคุณ
    • บุคคลที่เชื่อมโยงกับคุณโดยเปิดเผยผ่านไซต์ทางสังคมต่างๆ เช่นTwitter และ FriendFeed ซึ่งเชื่อมโยงกับบัญชี Google หรือโปรไฟล์ Google ของคุณ
    • บุคคลที่คุณติดตามใน Google Reader และ Google Buzz
    • บุคคลที่เชื่อมโยงกับบุคคลอื่นๆ ในสังคมออนไลน์สาธารณะโดยตรงของคุณ นั่นหมายถึง หากคุณติดตามเพื่อนใน Twitter แล้วเพื่อนคนนั้นติดตามบุคคลอื่นๆ อีกห้าคน บุคคลทั้งห้าคนนั้นอาจรวมอยู่ในสังคมออนไลน์ของคุณด้วย
    ในผลการค้นหาบางรายการ คุณอาจเห็นชื่อและรูปภาพของบุคคลต่างๆ ในสังคมออนไลน์ที่ได้แบ่งปันหรือสร้างเนื้อหาเว็บขึ้น หากต้องการดูว่าคุณเชื่อมโยงกับสังคมออนไลน์นั้นๆ อย่างไร ให้เลื่อนเมาส์ไปบนชื่อของบุคคลนั้นในผลการค้นหาที่มีคำอธิบายประกอบ ตัวอย่างเช่น หากคุณได้เพิ่มบัญชี Twitter ลงในโปรไฟล์ Google ของคุณ และคุณติดตามบ๊อบใน Twitter คุณอาจเห็นชื่อบ๊อบอยู่ในผลการค้นหา คลิกที่ชื่อเพื่อดูหน้าโปรไฟล์ของบุคคลนั้น
    หากคุณต้องการดูบุคคลในสังคมออนไลน์ของคุณ โปรดไปที่หน้าวงสังคมของคุณเพื่อดูรายชื่อผู้ติดต่อโดยตรงและผู้ติดต่อลำดับที่สอง (เพื่อนของเพื่อน) 



    เคล็ดลับการใช้ Google Translate (แปลภาษา) ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

    เคล็ดลับการใช้ Google Translate (แปลภาษา) ให้มีประสิทธิภาพ

    มากที่สุด

    หากท่านต้องการที่จะใช้ Google Translate (แปลภาษา) ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เราขอแนะนำวิธีการดังต่อไปนี้

      1. หากต้องการแปล ประโยคยาวๆ เราขอแนะนำให้ ลองทำการแปลที่ละประโยค หรือทีละย่อหน้าก่อน
      2. หากต้องการแปลไทยเป็นอังกฤษ พยายามตัดคำฟุ่มเฟือยออกไป เช่นคำว่า จ้ะ นะ ครับ จัง เพราะบางครั้ง Google Translate จะรวมคำเหล่านี้เข้ามาในการแปล ทำให้โอกาสในการแปลนั้นผิดพลาดสูง
      3. อีกกรณี หากแปลไทยเป็นอังกฤษ หาคำหรือประโยคที่ออกมานั้นดูไม่ค่อยเข้าที ลองเปลี่ยนคำที่ใกล้เคียง แล้วลองเปลี่ยนดูจนได้คำที่เหมาะสม
      4. หากต้องการแปลคำศัพท์หลายๆ คำ ให้ทำการพิมพ์คำที่ต้องการแปล 1 คำ ต่อ 1 บรรทัด การแปลจะให้ผลที่ดีกว่า พิมพ์หลายๆคำ ลงในบรรทัดเดียวกัน
      5. อย่าลืมที่จะคำนึงถึง คำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์ในวงการ หรือคำแสลงใดๆ ก็ตาม เพราะบางที Google Translate อาจให้ความหมายที่ไปคนละทางเลยก็ได้
      6. คำหนึ่งคำอาจมีความหมายหลากหลายรูปแบบ อย่าลืมที่จะดูคำที่ Google Translate แปลให้เพิ่ม โดยจะอยู่ใต้คำแปลหลัก เช่นคำว่า ลือ จะแปลได้ว่า Propagate. แต่ก็จะมีคำอื่นที่ใกล้เคียงกันเช่น spread widely , make known , circulate , broadcast, disseminate ,propagate
      7. ไม่ ว่าคุณจะแปลไทยหรืออังกฤษ ให้ลองเปรียบเทียบประโยคก่อนแปลและหลังแปลดูก่อน อย่าเอาประโยคที่ได้ทำการแปลนั้นไปใช้ทันที ตรวจทานเรื่องคำดูอีกสักครั้ง ลองปรับบางคำเพื่อให้เหมาะสมกับประโยคนั้นมากที่สุดดูก่อน

    วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

    9 เหตุผลที่ควรย้ายจาก Facebook มาใช้ Google+

    9 เหตุผลที่ควรย้ายจาก Facebook มาใช้ Google+

    ในตอนนี้ ถ้าพูดถึง Facebook กับ Google+ (Google Plus) คำถามแรกที่จะต้องได้ยินคือว่า Google+ จะมาแข่งกับ Facebook หรือเปล่า? เพราะดูจากฟีเจอร์ที่มีแล้ว ค่อนข้างคล้ายคลึงกับ Facebook พอสมควรครับ ถึงจะไม่เหมือนเป๊ะๆ แต่เชื่อว่า คนที่เคยเล่น Facebook มาก่อน คงจะหันมาเล่น Google+ ได้ไม่ยากเช่นกัน วันนี้ผมมีบทความเกี่ยวกับ Google+ มาให้อ่านกันครับ ซึ่งเป็นบทความจากเว็บไซต์ macworld.com (แต่ต้นฉบับของบทความนี้ อยู่ที่เว็บไซต์ PCWorld.com ครับ) โดยผู้เขียนให้ได้เหตุผลถึง 9 ข้อด้วยกัน ลองมาดูกันครับว่า ทำไม เราควรย้ายจาก Facebook มาใช้ Google+ ครับ
     1) Google+ สามารถเชื่อมโยงกับบริการอื่นๆ จาก Google ได้เชื่อว่า นี่อาจเป็นเหตุผลหลักที่จะช่วยผลักดันให้คนหันมาใช้ Google+ กันมากขึ้นครับ เพราะ Google ได้สร้าง Google+ ให้เชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์ออนไลน์มากมายที่ Google สร้างสรรค์ไว้ให้ ถ้าคุณอยากจะเช็คเมล Google ก็มี Gmail หรือถ้าหากคุณจะทำการเอกสาร Google เค้าก็มี Google Docs ไว้คอยบริการ รวมไปถึงการค้นหาข้อมูลต่างๆ (Search) Google ก็ขึ้นชื่ออันดับ 1 เรื่อง Search Engine อยู่แล้ว เรียกว่า ใช้แค่อย่างเดียว ก็สามารถทำได้ทุกอย่างนั่นเองครับ ที่สำคัญคือ บริการต่างๆ เหล่านั้น ใช้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วย ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ Facebook ยังทำไม่ได้ครับ
    ที่ผู้เขียนเค้าบอกว่า Google+ จะสามารถบริหารจัดการกลุ่มเพื่อนได้ดีกว่า ก็เพราะฟีเจอร์ที่มีชื่อว่า Circles นั่นเองครับ ซึ่งในชีวิตจริงนั้น เรามีเพื่อนหลายประเภท และมีวิธีสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ในวิธีที่แตกต่างกันไป จึงทำให้เกิด Circle ขึ้นมาแบ่งแยกว่า อันนี้คือ กลุ่มเพื่อนที่โรงเรียนนะ อันนี้เป็นผู้ร่วมงาน อันนี้เป็นเพื่อนที่มหาลัย ถ้าถามว่า แล้ว Facebook ไม่มีการจัดการแบบนี้หรือ จริงๆ แล้วมีครับ แต่จะทำได้ “ยุ่งยากกว่า” (เขาให้เหตุผลมาแบบนี้ครับ) เพราะ Groups ใน Facebook เป็นแค่ฟังก์ชั่นที่เพิ่มขึ้นมา แต่ Circles ใน Google+ เป็น “รากฐาน” ที่ Google ได้สร้างขึ้นมานานแล้วนั่นเองครับ
    ความ ปลอดภัยในการแชร์ข้อมูลในที่นี้ หมายถึง เวลาที่เราอัพเดทข้อความ, รูป หรืออะไรก็ตามแต่ เราสามารถตั้งค่าได้ว่า ใครกันที่สามารถมองเห็นได้ จะให้เห็นกันทั้ง Circles หรือให้เฉพาะบุคคลเห็น Google+ ก็สามารถทำได้ครับ “แต่” จริงๆ แล้ว Facebook ก็ทำได้เหมือนกันครับ เพียงแต่ว่า ไอคอนการตั้งค่าเล็กเกินไป (สังเกตหน้า Facebook ครับ ด้านล่างที่เราจะโพสข้างๆ ปุ่ม Share จะมีไอคอนรูปแม่กุญแจอยู่) ทำให้หลายๆ คนอาจจะมองไม่เห็น ก็เลยคิดไปว่า Facebook คงทำไม่ได้แน่ๆ แต่ Google+ เค้าดึงฟีเจอร์นี้ออกมาให้เห็นกันชัดๆ ครับ แต่ใครที่เคยตั้งค่าความเป็นส่วนตัวกันไปก่อนหน้านั้น ต้องระวังนิดนึงครับ เพราะทั้ง Facebook กับ Google+ จะจำการตั้งค่าครั้งล่าสุดเอาไว้ ฉะนั้น ก่อนจะโพสอะไร ต้องมั่นใจเลยว่า เราโพสไปหาไม่ผิดคนแน่ๆ


     2) Google+ บริหารจัดการกลุ่มเพื่อนได้ดีกว่า
     3) Google+ มี Mobile App ดีกว่า
    ใครที่ใช้แอนดรอยด์โฟนอยู่ จะพบว่า การจะเข้าคอนเทนต์อะไรซักอย่างจากโทรศัพท์มือถือ ทำได้ง่ายมากครับ อีกทั้ง Google+ Mobile App (ผู้เขียนบอกว่า) เป็น App ที่ยอดเยี่ยมมาก ด้วยเหตุนี้ Google จึงกำลังหาทางทำให้แอนดรอยด์โฟน เชื่อมต่อกับ Google+ ได้อย่างไร้ที่ติ เพื่อเป็นยกระดับ Mobile App ให้ดีขึ้นไปอีก เพราะ Google หวังว่า อยากจะให้ Google+ นั้น เป็นฐานรวมผู้ใช้แอนดรอยด์ที่ใหญ่ที่สุดครับ
     4) Google+ หาบทความ/สิ่งที่น่าสนใจ มาแชร์ได้ง่ายกว่า
    เหตุผลที่ผู้เขียนบอกว่า Google+ หาของมาแชร์ได้ง่าย เพราะมีฟีเจอร์ที่ชื่อ Sparks ครับ โดยอาศัยข้อมูลจาก Search Engine อย่าง Google นั่นเอง เมื่อเปรียบเทียบกับ Facebook แล้ว Facebook ไม่มี Search Engine ในตัวครับ ถ้าจะหาข้อมูลดีๆ ก็ต้องเปิดเว็บและทิ้งลิงค์เอาไว้ภายหลัง หรือไม่ก็ต้องรอเพื่อนมาแชร์ แต่ถ้าใช้ Google+ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะหมดไปด้วยฟีเจอร์ Sparks ครับ
     5) Google+ สามารถดึงข้อมูลกลับมาได้
    Facebook นั้น สามารถบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัวได้ค่อนข้างยากกว่า Google+ ครับ เพราะข้อมูลส่วนตัวบางอย่าง เราอยากจะเก็บไว้เป็นความลับ แต่ Facebook นั้นจะบังคับให้เราเปิดเผยข้อมูลบางส่วนนั้นเป็น “Public” (สาธารณะ) ไม่ใช่ “Private” (ส่วนตัว) นอกจากนี้ การลบ Account บน Facebook ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกเช่นกันครับ อีกทั้งถ้าหากลบแล้ว ก็คือลบเลย เกิดวันนึงอยากได้รูปที่เคยโพสลง Facebook ก็เอากลับมาไม่ได้แล้ว เพราะ Account ถูกลบไปแล้ว แต่บน Google+ เราสามารถทำได้ครับ แม้ว่า Account ของเราจะถูกลบไปก็ตาม เพราะบน Google+มีฟีเจอร์ที่ชื่อว่า Data Liberation ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ทั้งรูป, โปรไฟล์, Stream, Buzz รวมไปถึง รายชื่อผู้ติดต่อ ได้อีกด้วยครับ
     6) Google+ มีระบบการ Tag รูปดีกว่า
    สำหรับการ Tag รูปนั้น ทั้ง Facebook กับ Google+ สามารถทำได้เหมือนกันคือ จิ้มที่หน้าคนที่เราต้องการจะ Tag แล้วใส่ชื่อ แต่สิ่งที่ผู้เขียน ได้เขียนเพิ่มลงไปก็คือว่า บน Google+ นั้น จะมีการส่งข้อความแจ้งคนที่เราเพิ่งใส่ชื่อ Tag ไปว่า เราได้ Tag เค้าไปนะ ซึ่งตรงนี้ ผมคิดต่างครับ เพราะ Facebook ก็มีระบบแจ้งเตือนเวลาเราโดน Tag รูปเหมือนกัน เลยไม่คิดว่า จุดนี้ Google+ จะแตกต่างจาก Facebook ครับ
     7) Google+ มีระบบแชทที่เยี่ยมกว่า
    จริงๆ แล้วทั้ง Facebook กับ Google+ ก็มีระบบแชทด้วยกันทั้งคู่ เพียงแต่ Google+ อาจจะได้เปรียบกว่าตรงที่ Google เองก็มีระบบแชทที่ชื่อว่า Google Talk อยู่แล้ว ซึ่งได้นำระบบบางอย่างบน Google Talk มาปรับใช้กับ Google+ ครับ ทำให้สามารถใช้ Video Chat ได้, คุยกันเป็นกลุ่ม Circles ได้ แถมด้วยโปรแกรมแชทอย่าง Huddle ซึ่งตรงนี้ถือว่า Google+ เหนือกว่า Facebook อยู่หลายขุมครับ
     8) Google+ มีระบบการแชร์ที่ปลอดภัยกว่า
     9) Google ดูแลข้อมูลส่วนตัวได้ดีกว่า
    ใน ข้อนี้ ผมไม่ขอให้ความเห็นว่าระหว่าง Facebook กับ Google ใครจะปกป้องข้อมูลส่วนตัวไม่ให้รั่วไหลได้มากกว่ากัน เพราะส่วนใหญ่แล้ว พวกรูปหลุดเอย ข้อมูลหลุดเอย ก็มักจะมาจากเจ้าของมากกว่าครับที่อาจจะตั้งค่าพลาดเอง หรือไม่ก็มาจากกลุ่มเพื่อนเสียมากกว่า

    หมดแล้วครับ 9 เหตุผลที่ควรย้ายจาก Facebook มาใช้ Google+ ซึ่งอันนี้เป็นเพียงข้อวิจารณ์ของผู้เขียนจากเว็บไซต์ PCWorld.com เท่านั้นนะครับ Facebook อาจจะไม่ได้แย่ไปทุกข้อตามที่ผู้เขียนได้เขียนไว้ก็ได้ครับ แต่ Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้ง Facebook ยังมี Google+ เลยนะ :)
    Cr.http://www.kwamru.com/111

    5ข้อดี ของ Google Drive

     5ข้อดี ของ Google Drive

      Google Drive คือ การเก็บข้อมูลในรูปแบบของ Cloud Storage หรือบริการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลไว้บนเซิร์ฟเวอร์แล้วผู้ใช้งานสามารถเปิดใช้งานไฟล์ข้อมูลเหล่านั้นได้จากทุกที่ทุกเวลา เมื่อไม่นานมานี้ Google ได้จัดทำคลิปแนะนำข้อดี 5 อย่างของGoogle Drive ซึ่งทำออกมาได้อย่างน่าสนใจมาก

     Google Drive: Sharing your documents and files ความสามารถในการแชร์ไฟล์ข้อมูลไปยังคนอื่น ๆ ได้ก่อนหน้านี้หากต้องการส่งไฟล์ประเภทต่าง ๆ ผ่านอีเมล์อาจต้องส่งหลายครั้งและเกิดความยุ่งยากในการจัดการ แต่ถ้าหากใช้ Google Drive ปัญหานี้จะหมดไปเพราะไฟล์ข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้ที่เดียวบน Google Drive และสามารถแชร์ไฟล์ให้คนอื่น ๆ โดยไม่ต้องส่งไฟล์กลับไปกลับมาให้เกิดความมยุ่งยาก วิธีการนี้จะช่วยลดความซ้ำซ้อนในการส่งข้อมูลลงไปได้

     Google Drive: Working on the same file at the same time ความสามารถในทำงานได้จากหลาย ๆ สถานที่ในเวลาที่พร้อม ๆ กัน เช่น นักข่าวในอเมริกากับนักข่าวที่ประเทศไทยสามารถทำงานบนไฟล์เดียวกันบน Google Drive ได้และสามารถคุยโต้ตอบผ่านระบบ Chat เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับงาน

     Google Drive: One safe place for all your stuff  Google Drive เป็นพื่นที่เก็บไฟล์ข้อมูลที่ปลอดภัยเนื่องจากไฟล์ข้อมูลถูกเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของ Google หากคอมพิวเตอร์ที่บ้านของผู้ใช้งานได้รับความเสียหายไฟล์ข้อมูลเหล่านั้นก็จะไม่ได้รับความเสียหายตามไปด้วย

     Google Drive: Storage and storage plans ระบบจัดเก็บไฟล์ข้อมูลของ Google Drive จะแสดงรายละเอียดปริมาณข้อมูลแยกออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ Google Drive , Gmail และ Google+ Photos ซึ่งมีพื้นที่รวมทั้งหมด 15 GB ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปตรวจสอบปริมาณข้อมูลที่ใช้ไปได้จาก www.google.com/settings/storage ซึ่งหากใช้พื้นที่ไปจนครบจำนวน 15GB ก็สามารถเพิ่มขนาดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้ตามแพ็คเกจที่เหมาะสม

    Google Drive: Using Drive offline เมื่ออยู่ในสถานที่ที่ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเช่น บนเครื่องบิน Google Drive สามารถเปิดไฟล์ข้อมูลขึ้นมาทำงานแบบออฟไลน์ได้ เมื่อลงจากเครื่องและสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ก็สามารถอัพเดทไฟล์งานนั้นขึ้นสู่ Google Drive ได้

    Google Play คืออะไร ?

    Google Play คืออะไร ?
       
        Google Play คือ เป็นบริการใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวได้ไม่นาน โดยทางกูเกิลได้รีแบรนด์จากบริการเดิมที่มีอยู่แล้วอย่าง Android Market ทำการปรับโฉมใหม่ทำให้ Google Play กลายเป็นศูนย์รวมคอนเทนต์ต่าง ๆ ของกูเกิล เช่น เพลง แอพพลิเคชั่น หนังสือ เกมและอื่น ๆ ที่กูเกิลตั้งใจจะทำเป็นแหล่งดาวน์โหลดทุกอย่างที่กูเกิลมี โดยมีลักษณะคล้าย ๆ กับ Apple iTunes ของทางฝั่งแอปเปิลนั่นเอง โดย Google Play ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนด้วยกัน คือ 



     1. Google Play Store ( ชื่อเดิม Android Market) เป็นตลาดดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่มาจาก Android Market เราสามารถค้นหาแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ และเลือกติดตั้งได้จาก Play Store บนมือถือและติดตั้งผ่านหน้าเว็บ ซึ่งขณะนี้มีแอพฯ และเกมให้เลือกดาวน์โหลดมากกว่า 450,000 แอพฯ

    
  2. Google Play Music (ชื่อเดิม Google Music) บริการด้านเพลงและมิวสิควีดีโอ ที่มีเพลงให้เลือกฟังและเลือกชมมากกว่า 20,000 เพลง  และสามารถกดแชร์เพลงไปให้เพื่อน ๆ ที่ใช้บริการ Google+ ได้อีกด้วย

    
  3. Google Play Books (Google Books) บริการเกี่ยวกับหนังสือและนิตยสารประเภท eBook ออนไลน์ขนาดใหญ่ที่สุดที่ให้ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดมาอ่านได้ทั้งบนมือถือและแท็บเล็ต

    
  4. Google Play Movies (Google Movies) บริการเช่าภาพยนตร์ที่มีให้เลือกชมทั้งบนมือถือและหน้าเว็บ พร้อมกับจัดเก็บไว้บน Cloud หรือในเครื่องเพื่อเลือกชมภาพยนตร์ที่ต้องการได้ทุกที่ทุกเวลา และเร็ว ๆ นี้ จะมีหนังใหม่ในแบบ HD ให้เช่าอีกด้วย

    สำหรับผู้ใช้งานแอนดรอยด์สามารถเข้าใช้งาน Google Play ได้จากแอพฯ บนสมาร์ทโฟนหรือใช้งานผ่านทางเว็บไซต์ Google Play ก็ได้ โดยไปที่ https://play.google.com/store


    วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

    Google Apps คืออะไร มีประโยชน์ในการใช้งานอย่างไร

    Google Apps คืออะไร มีประโยชน์ในการใช้งานอย่างไร


    Google Apps คืออะไร


    Google Apps เป็น Solution การจัดการข้อมูลทุกชนิดสำหรับ บริษัท, องค์กร, ธุรกิจ, กลุ่ม, ชมรม ของท่าน เพื่อให้ “ข้อมูล” ต่างๆ สามารถ “เข้าถึงได้ง่าย” (Accessible) และ “คงทนถาวร” (Durability) มากที่สุด ซึ่งภายใน Google Apps นั้น ประกอบไปด้วยโปรแกรมต่างๆ ภายในดังนี้

    -Google Mail: จัดเก็บ รับ-ส่ง จดหมาย (E-mail) สำหรับองค์กรของท่าน สามารถใช้ Domain ของบริษัทท่านเป็น E-mail ได้ และปลอดภัยจากอีเมลล์ขยะ (Spam Filter)

    -Google Calendar: แบ่งปัน นัดหมายส่วนตัวของคนในองค์กร และใช้เป็นปฏิทินกลาง สำหรับแจ้งข้อมูลการเข้าประชุม, กำหนดการส่งของ และอื่นๆ ได้อย่างสร้างสรร

    -Google Docs: แชร์เอกสารทั้ง Word, Excel และ PPT เพื่อให้พนักงานในองค์กรสามารถ อ่านข้อมูล หรือแก้ไข ได้พร้อมๆ กัน แบบ Real-time

    -Google Sites: เว็บเพจกลางสำหรับใช้ภายในบริษัท (Intranet) เพื่อส่งข่าว หรือประกาศสำคัญๆ ต่างๆ หรือ ฐานข้อมูลความรู้ (Knowledge Base) เพื่อให้พนักงานเข้าถึงได้

    ทำไมต้อง Google?

    นอกจากโซลูชั่น Google Apps แล้ว ยังมีตัวเลือกอื่นๆ อีกมากมาย ที่ให้เราเลือก เช่น, เช่าพื้นที่เอง (Self-hosted), หรือระบบ Microsoft Exchange, Lotus Notes ซึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้ Google Apps ชนะเหนือคู่แข่งเลยคือ เป็นโซลูชั่นที่ “คุ้มค่า” ที่สุด เพราะ สามารถใช้งานได้ “ฟรี!” ในจำนวน User ต่ำๆ และมีค่าใช้จ่ายที่ถูกมาก หาก จำนวน User เพิ่มมากขึ้น แต่ความสามารถของ Google Apps นั้น ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคู่แข่งเลย ยกตัวอย่างเช่น

      • เป็น Cloud-based Solution ทำให้ข้อมูลของท่านอยู่ยงคงกระพัน ไม่ต้องกลัวข้อมูลสูญหาย และไม่ต้องเสียเวลากับการ Update Version ของ โปรแกรมที่ตัว Client ด้วยตนเอง (ไร้ความเสี่ยงต่อการเข้ากันได้ของข้อมูลต่างๆ)
      • ใช้พนักงาน IT ดูแลน้อยถึงน้อยมากที่สุด เพราะสามารถ Services ได้ง่าย ดูแลได้เอง และมีปัญหาการใช้งานน้อยมาก
      • ปลอดภัยกว่า เพราะข้อมูลถูเก็บที่ฝั่ง Google ซึ่งมีการป้องกันอย่างแน่นหนา และรอบคอบกว่า การออกแบบระบบด้วยตนเอง
      • ระบบการทำงานแบบ Online Application เพื่อให้ทุกระบบปฏิบัติการ (OS) ไม่ว่าจะเป้น Windows Mac หรือ มือถือ สามารถเข้าใช้งานได้อย่างง่ายดาย
      • เอกสารต่างๆ มีการจัดเก็บแบบแยก Version (Revision) เพื่อง่ายในการดูย้อนหลัง เพื่อตรวจสอบข้อผิดพลาดต่างๆ
      • มีระบบพูดคุย (Instant Messaging) และ Video Chat ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบายในองค์กร
      • ค่าใช้จ่าย FREE! ถึง ถูกสุดๆ
      • มีพื้นที่จัดเก็บมากมาย เหลือเฟือ ให้ท่านใช้งานได้ แทบจะไม่จำกัด
      • 99.9% Uptime, หมดความกังวลเรื่องการเชื่อมต่อ ระหว่าง Server-Client

    ประโยน์ของ Google Apps

    -การประหยัดค่าใช้จ่ายที่ได้รับการ พิสูจน์แล้วแอปพลิเคชันการส่งข้อความและการทำงานร่วมกันที่ทำงานแบบเว็บของ Google ไม่จำเป็นต้องใช้ฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ และต้องการการดูแลระน้อยที่สุด สร้างเวลาเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย และประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกิจ

    -พื้นที่เก็บข้อมูลมากกว่าค่าเฉลี่ยของ อุตสาหกรรม 50 เท่าพนักงานแต่ละรายจะมีพื้นที่เก็บข้อมูลอีเมลขนาด 25 กิกะไบต์ ดังนั้นจึงสามารถเก็บข้อมูลสำคัญและค้นหาได้ทันทีด้วยการค้นหาขอGoogle ที่มีอยู่ภายในระบบ

    -การเข้าถึงอีเมล ปฏิทิน และ IM บนโทรศัพท์มือถือด้วยการใช้ตัวเลือกมากมายสำหรับการเข้าถึงข้อมูลขณะเดินทาง พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย Google Apps แม้ว่าจะไม่อยู่ที่โต๊ะของตนก็ตาม

    -รับประกันความน่าเชื่อถือของความพร้อมใน การทำงาน 99.9%เรารับประกันว่า Google Apps จะมีความพร้อมในการทำงานอย่างน้อย 99.9% ดังนั้นพนักงานของคุณจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากขึ้น และคุณจะกังวลใจน้อยลงเกี่ยวกับการหยุดทำงานของระบบ

    -ความปลอดภัยของข้อมูลและเป็นไปตามข้อ กำหนดเมื่อคุณวางใจที่จะมอบข้อมูลของบริษัทแก่ Google คุณสามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลสำคัญของคุณจะปลอดภัย

    -การควบคุมการดูแลระบบและข้อมูลแบบ สมบูรณ์ผู้ดูแลระบบสามารถปรับแต่ง Google Apps ในเชิงลึกเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดด้านเทคนิค ตราสินค้า และธุรกิจของตนได้

    -การสนับสนุนลูกค้าทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงที่เป็นประโยชน์Google Apps มีความน่าเชื่อถือในระดับสูงและทำงานได้อย่างง่ายดาย แต่การสนับสนุนมีให้สำหรับผู้ดูแลระบบ หากคุณต้องการใช้งาน


    Cr. http://sarayutluy.wordpress.com/assignment-4/assignment-3-2/google-apps-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81/