วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Google Scholar คืออะไร ?

Google Scholar คืออะไร ?

สำหรับ Google Scholar เป็นบริการที่มีมานานแล้ว ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2547 โดยออกเป็น beta version และทุกวันนี้ก็ยังคงเป็น beta อยู่ และอาจเพราะเป็นบริการที่ออกมานานแล้วเลยทำให้เป็นบริการที่ไม่เป็นที่รู้จักของหลายๆ  คน
Google Scholar เป็นวิธีการค้นหาที่ง่าย ๆ ในการค้นหางานเขียนทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง คุณสามารถค้นหาในสาขาวิชาและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้มากมายได้จากจุดเดียว : ไม่ว่าจะเป็นบทความ peer-reviewed วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทคัดย่อ และบทความจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการ แวดวงวิชาชีพ ที่เก็บร่างบทความ มหาวิทยาลัย และองค์กรด้านการศึกษาอื่น ๆ
Google Scholar ช่วยให้คุณสามารถระบุการค้นคว้าที่เกี่ยวข้องมากที่สุดในโลกแห่งการค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ

คุณลักษณะของ 

ค้นหา แหล่งข้อมูลที่หลากหลายจากจุดที่สะดวกจุดเดียวค้นหา บทความ บทคัดย่อ และการอ้างอิงค้นหาตำแหน่ง ของบทความฉบับสมบูรณ์จากทั่วทั้งห้องสมุดของคุณหรือบนเว็บเรียนรู้ เกี่ยวกับบทความสำคัญในการค้นคว้าวิจัยสาขาใดๆ
Google Scholar มุ่งมั่นที่จะจำแนกบทความแบบนักวิจัย โดยวัดน้ำหนักจากข้อความทั้งหมดของแต่ละบทความ ผู้เขียน สิ่งตีพิมพ์ที่บทความนั้นปรากฏ และความถี่ที่มีการอ้างอิงบทความนั้นในงานเขียนทางวิชาการอื่น ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องมากที่สุดจะปรากฏบนหน้าแรกเสมอ

Cr.http://libkm.kku.ac.th/kmlib/?p=1173

Google Site คืออะไร ?

Google Site คืออะไร?

google site คือเครื่องมือๆ หนึ่ง ของ google แต่ที่เรานิยมใช้กัน มักจะมีเพียงแค่ 2 ตัวเท่านั้น คือ เว็บสำหรับสืบค้นข้อมูล และ gmail แต่ถ้าหากเราเสียเวลาเหลือบมองไปด้านบนสักนิด(หากท่านเข้าเว็บ google ที่ใช้สำหรับสืบค้นข้อมูล ท่านจะเห็นอะไรมากมายที่ท่านไม่เคยแตะมันเลย ที่ผมแนะนำให้ท่านลองไปศึกษาและใช้เอง คือ เอกสาร ครับ ลองคลิ๊กเข้าไปดู ท่านชอบแน่นอน(สำหรับผู้ที่มีความเร็วของอินเตอร์เนตพอใช้ได้) แต่ google site อยู่ตรงไหนล่ะครับ ที่เพิ่มเติมไงครับ โดยเลือกที่ ไซต์ (site) แล้วระบบจะนำท่านไปสู่ความสนุกและประโยชน์มหาศาลครับ

          google site คือเว็บบล็อกฟรี ของgoogle นั่นเองมีความสามารถหลากหลาย ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งได้ตามใจชอบ และวัตถุประสงค์ของการทำเว็บ ของแต่ละคน หากเข้าใจมันแล้ว ท่านจะชอบมัน และก็ไม่ยากที่ท่านจะเข้าใจมัน ขอเพียงแต่ท่าน คีย์ข้อมูลเป็น และสนใจ เท่านี้ท่านก็สามารถมีเว็บบล็อกดีๆตัวหนึ่งได้อย่างฟรี และที่สำคัญ ท่านสามารถเชิญชวนเพื่อนของท่านให้มาช่วยกันสร้างเว็บบล็อกตัวนี้ร่วมกัน 



Cr.https://sites.google.com/site/phxthaennng/khumux-kar-chi-ngan/googlesitekhuxxari

Google AdSense คืออะไร ?

Google Adsense คืออะไร

. . . Google Adsense คือ บริการหนึ่ง จาก Google.com ที่เปิดโอกาสให้กับผู้ที่มีเว็บไซต์ สามารถสร้างรายได้โดยการนำโฆษณาของ Google มาใส่ไว้ที่เว็บไซต์ของเรา ซึ่งโฆษณาต่างๆ ของ Google จะเป็นโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ ตัวอย่าง เช่น ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับเกมส์ โฆษณาที่ทาง Google จะส่งมาก็จะเป็นเกี่ยวกับเกมส์ เช่นกัน

. . . โฆษณาของ Google Adsense มีหลายรูปแบบ อาทิ เช่น แบบ Text(ตัวอักษร), แบบรูปภาพ และ รูปแบบตัวอักษรสลับกับรูปภาพ และยังมีสามารถเลือกขนาดของโฆษณาได้ตามต้องการ รวมถึงสีสันของโฆษณาได้ตามต้องการ เพื่อความสวยงาม และลงตัว เหมาะสมกับเว็บไซต์ของคุณได้อีกด้วย

. . . โฆษณาของ Google AdSense ก็มาจากอีกบริการหนึ่ง ก็คือ Google Adwords เป็นบริการของ Google.com ที่ให้เว็บไซต์ต่างๆ หรือ ผู้ที่ต้องการขายสินค้าและบริการบริการต่าง ๆ มาลงโฆษณา โดยโฆษณาเหล่านี้ ก็จะปรากฎ ในเว็บ Google.com เอง และ รวมถึงเว็บไซต์พันธมิตร นั่นก็คือ เว็บไซต์ที่สมัคร Google AdSense นั่นเอง ก็คือ กลุ่มพวกเราที่กำลังทำกันอยู่ เพื่อให้โฆษณาของ Google Adwords เหล่านี้ กระจายออกไปสู่เว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก เป็นการโฆษณาที่ได้


Cr. http://www.thaiadsense.info/adsense_01.htm

Google Contacts คืออะไร ?

                       Google Contacts คืออะไร

Google Contacts เป็นวิธีเก็บและจัดระเบียบข้อมูลที่อยู่ติดต่อของบุคคลที่คุณสื่อสารด้วย ที่อยู่ติดต่อแต่ละรายสามารถประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชื่อ ที่อยู่อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ และยังสามารถรวมข้อมูลเสริมเช่น ที่อยู่ทางไปรษณีย์ นายจ้าง แผนก หรือตำแหน่งงาน

Google Contacts จะทำงานร่วมกับ Google Apps ทั้งหมด เช่น Gmail, ไดรฟ์ และปฏิทิน ผ่าน ฟังก์ชันเติมข้อความอัตโนมัติ คุณลักษณะนี้ช่วยให้ผู้ใช้ส่งอีเมล แบ่งปันเอกสาร และกำหนดนัดหมายโดยไม่จำเป็นต้องค้นหาข้อมูลที่อยู่ติดต่อในแท็บหรือหน้าต่างอื่น และผู้ใช้ยังสามารถ ซิงค์ที่อยู่ติดต่อระหว่าง Google Apps กับโทรศัพท์มือถือ เพื่อดูที่อยู่ติดต่อนอกเบราว์เซอร์ได้อีกด้วย

ที่อยู่ติดต่อประเภทต่างๆ

Google Contacts ประกอบด้วยที่อยู่ติดต่อสองประเภท แต่ละประเภทมีการจัดการแยกจากกัน และประกอบด้วยข้อมูลที่คล้ายกันแต่ไม่ตรงกันทั้งหมด

Cr. https://support.google.com/a/answer/1628008?hl=th

การใช้ประโยชน์จาก Google Maps

                 การใช้ประโยชน์จาก Google Maps

ในปัจจุบัน เราใช้ประโยชน์จากแผนที่ Google Map ได้มากมาย เช่น การค้นหาสถานที่ต่างๆ และเส้นทางที่จะใช้ในการเดินทาง ค้นหาสถานที่ใกล้เคียง ฯลฯ 

ในการใช้แผนที่ Google Map เราเลือกดูแผนที่ได้ 4 แบบ คือ แผนที่ (Map)  แผนที่จากภาพถ่ายดาวเทียม (Sat) แผนที่แสดง Terrain (Ter) และแผนที่ Google Earth (Earth)

ในการค้นหาสถานที่นั้น บางครั้ง ถ้าใช้แบบ Map แล้วพบว่า ถนน ไม่ชัดเจนเพียงพอ ก็ควรใช้แผนที่แบบ Sat แทนเป็นการหาตำแหน่งของตลาดน้ำดำเนินสะดวก ซึ่งเมื่อคลิกที่รูปบ้าน ข้อมูลจะปรากฏขึ้น

จากนั้นคำบรรยายสั้นๆ แสดงไว้ที่ A) และสามารถทำLink ไปยังเว็บไซต์ หรือเว็บเพจได้ เช่น คลิกดู VDO หรือที่ (B) ซึ่งเมื่อคลิกเข้าไปก็จะเห็นหน้าเว็บเพจที่มีวิดีโอ 

ถ้าเรามีเครื่องนำทาง GPS ก็หาจุด Coordinates ของตลาดน้ำดำเนินสะดวกได้ (ถ้ามีคนทำ Placemark เอาไว้ให้แล้ว)โดยคลิกที่ Directions (C)  ก็จะปรากฎช่องที่แสดงจุดCoordinates (E)  ซึ่งสามารถนำไป Key เข้าเครื่องนำทาง GPS และใช้ในการเดินทางไปตลาดน้ำดำเนินสะดวกได้อย่างแม่นยำ

นอกจากนั้นเรายังสามารถค้นหาสถานที่ใกล้เคียงได้ เช่น คลิกที่ Search neraby (D) ถ้าพิมพ์คำว่าRestaurantลงในช่อง (F) แล้วกด Search ก็จะได้ตำแหน่งของร้านอาหารที่อยู่ใกล้ๆกับตำแหน่งของเรา คือตลาดน้ำดำเนินสะดวกและมีสรุปข้อมูล

คลิกที่นี่ เพื่อเข้าไปทดลองใช้แผนที่ Google Map ตามตัวอย่างที่กล่าวข้างต้น  หรือ คลิกที่รูปบ้าน ก็ได้เช่นกัน

การหาพิกัด GPS (Latitude, Longitude) ของสถานที่ 
เปิด Google Map แล้วเลือกสถานที่ ที่ต้องการ เช่น วัดพระศรีสรรเพชร อยุธยา (1)ใช้ Mouse ทาบไปที่ระบุว่าคือวัดพระศรีสรรเพชร คลิกที่ปุ่มขวา จะปรากฎหน้าต่างเล็กๆขึ้นมา ตามรูปที่ 8 คลิกที่ What's here? (2) จะได้พิกัด GPS ขึ้นมาคือ14.355784, 100.558548 (3) 

Cr. http://www.somkiet.com/ComTech/GMap1.htm

10 เคล็กลับการใช้ Google Calender

เคล็ดลับ 10 tips การใช้ Google Calendar แบบเทพ ๆ

1. คีย์ลัด

การใช้คีย์ลัดช่วยให้เข้าถึงฟังก์ชันต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น ตัวอย่าง คีย์ลัดที่ผู้เขียนใช้บ่อย เช่น

“S” เข้าไปที่หน้า Calendar Setting

“D“,”W“, “M” แสดงหน้าปฏิทินแบบ วัน, สัปดาห์, เดือน

“/” วางตำแหน่งเคอร์เซอร์ไปที่ กล่องค้นหา

“Q” แสดงกล่อง Quick Add

โดยผู้ใช้ต้องเข้าไปกำหนดค่าที่ Calendar settings -> General -> Enable keyboard shortcuts เลือกค่า Yes

 ถ้าต้องการดูรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับคีย์ลัดคลิกที่ Learn more

2. เพิ่ม Time Zone

หน้าปฏิทินสามารถเลือกแสดงได้หลาย Time Zone โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปเพิ่ม Time Zone ได้ที่ Calendar settings -> General ->Your current time zone คลิกที่ ”Show an additional time zone” แล้วไป Check Box ที่ ”Display all time zones”

3. แสดงปฏิทิน Thai Holidays

Google Calendar มีปฏิทินวันหยุดสำหรับนานาชาติให้เลือกใช้ ของประเทศไทยก็มีครับ ถ้าสนใจจะแสดงปฏิทินวันหยุด เข้าไปที่ Calendar settings -> Calendars -> Browse interesting calendars -> Holidays -> Thai Holidays คลิกที่ Subscribe

4. ปรับการแสดงจำนวนวันหน้าปฏิทิน

หน้าปฏิทินไม่จำเป็นต้องแสดงเป็น สัปดาห์ เดือน ปี ก็ได้ คุณสามารถกำหนดให้แสดงเป็นจำนวนวัน (2-7 days) หรือจำนวนสัปดาห์ (2-4 weeks) ได้ตามต้องการ โดยเข้าไปกำหนดค่าที่

Calendar settings -> General -> Default view และ Custom view

5. แสดง Tasks บนปฏิทิน

โดยค่า Default ปฏิทินจะไม่แสดง Tasks แต่ถ้าคุณมีความต้องการที่จะแสดง Tasks บนหน้าปฏิทินด้วย สามารถทำได้โดยการคลิกที่ My Calendar ทางด้านซ้ายของหน้า Calendar แล้วเลือก Tasks … รายการ Tasks ก็จะไปปรากฏในหน้าปฏิทิน

6. แบ่งปันปฏิทิน

คุณสามารถแบ่งปันปฏิทินของคุณไปยังบุคคลอื่นได้ตามต้องการ โดยการป้อนอีเมลล์ และสามารถกำหนดสิทธิให้กับผู้ที่ได้รับการแบ่งปันปฏิทินที่เห็นว่าเหมาะสมได้ด้วย

การกำหนดสิทธิมีให้เลือกดังนี้ “Make changes AND manage sharing” , “Make changes to events” , “See all event details” และ “See only free/busy (hide details)”

7. รับแจ้งกำหนดการทาง Email

ต้องการให้ Google Calendar ส่งอีเมลล์มาเตือนกำหนดการประจำวันทุกเช้า จะได้ไม่หลงลืมนัดสำคัญประจำวัน ทำได้โดยเข้าไปที่ Calendar settings -> Calendars คลิกที่ Notification หลังรายการปฏิทินที่สนใจจะให้เตือน (อยู่ประมาณกลาง ๆ หน้า) คลิกที่กล่อง Email หลัง Daily Agenda

8. สร้างกำหนดการผ่าน Quick Add

การสร้างกำหนดการด้วย Quick Add ช่วยให้การสร้างกำหนดสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามจะให้กำหนดการที่ไปปรากฏบนปฏิทินมีความถูกต้องชัดเจน คุณควรยึดหลักลำดับความ ดังนี้  “what, with who, where และ when”  เช่น Seminar with K.POP at Satorn Road on March 6, 2012 8:30 a.m. – 12:30 p.m. เป็นต้น ในกรณีเป็นกำหนดการแบบทั้งวันก็ไม่ต้องกำหนดเวลา

9. ค้นหาด้วย Calendar Search

Google Calendar เตรียมเครื่องมือการค้นหาที่มีประสิทธิภาพไว้ให้ โดยเตรียมคำกรองที่ช่วยให้การค้นหาใช้คำที่เฉพาะเจาะจง มีโอกาสเจอกำหนดการในปฏิทินได้มากขึ้น ได้แก่ What , Who , Where , Doesn’t Have , Search (which calendar) และ Date from – to -

คุณสามารถใช้งานฟังก์ชันนี้ได้โดยการคลิก show search options อยู่หลังกล่องค้นหาด้านบนของปฏิทิน

10. ดูปฏิทินแบบ Offline

ไม่ได้ต่ออินเทอร์เนต ก็สามารถดูปฏิทินได้ครับ โดยการติดตั้งChrome App ที่ชื่อว่า Google Calendar จาก Chrome Web Store เป็นแอพที่พัฒนาโดย Google เองเลยครับ

เมื่อเปิดแอพขึ้นมาหน้าตาไม่แตกต่างจาก Google Calendar เวอร์ชั่นเดสก์ทอปที่คุ้นเคย ใช้งานง่ายเหมือนกัน เพียงแต่มีคุณสมบัติที่ยอมให้คุณดูปฏิทิน แม้ในขณะที่ไม่ได้ต่ออินเทอร์เนต

Cr. http://arthitonline.me/2012/02/22/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A-tips-google-calendar/

ข้อเสียของ Google Chrome

                       ข้อเสียของ Google Chrome

1.ภาษาไทยยังไม่สมบูรณ์เช่น เวลาพิมพ์คำที่มีสระบน สระหน้า แล้วลบ เช่น กำลัง, ไป, ขึ้นรถ เป็นต้น เวลาลบจะหายไปทั้งหมด

2. ยังไม่มีตัวอ่าน Feed ในตัว เวลาคลิกไป Atom หรือ Feed จะเกิดโค้ดอันเลวร้ายออกมา

3. ไม่สามารถคลิกขวา Refresh ได้ ประหลาดมาก ต้องไปกดปุ่ม Refresh ข้างบน หรือไม่ก็ F5

4. ซูมทั้งหน้าไม่ได้ ได้แต่ Text

5. ยังไม่มี Plugin หรือ Theme ให้โหลด

6. ไม่ Support 100% กับ Wysiwyg Editor ในท้องตลาดบางตัว

7. สังเกตว่า หาก Tab ไหนทำ Flash ค้าง แล้วจะทำให้ Flash ในทุก Tab ค้างไปด้วย

8. เปิดใช้ java applet ไม่ได้ดีเท่าที่ควร

9. มีปัญหาเรื่อง sign in เข้าเว็บแล้วไม่ค่อยผ่านได้ดีเท่าที่ควร

10. จุดที่ Webkit ยังแพ้ Firefox 3 อย่างเห็นได้ชัดคงเป็นเรื่องการขยายเว็บที่ขยายแต่ตัวอักษร

 Cr. http://www.dek-d.com/lifestyle/10591/